Monday, March 29, 2021

ระบบ AS/RS

 ระบบ AS/RS

ระบบจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าแบบอัตโนมัติ หรือ Automated Storage and Retrieval System (AS/RS) จึงเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ถูกนำมาใช้มากขึ้นในปัจจุบันเพื่อทำให้เป็นคลังสินค้าอัตโนมัติ AS/RS เป็นระบบที่ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักคือชั้นวางสินค้า (AS/RS Racking) ซึ่งเป็นโครงสร้างเหล็กที่แบ่งเป็นช่องจัดเก็บสินค้าในแนวราบและซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในแนวดิ่ง และมีเครนหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้จัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้า Storage and Retrieval Machine (S/RM) ที่สามารถวิ่งเคลื่อนที่ได้ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง เพื่อนำสินค้าเข้าและออกจากชั้นวางสินค้า ภายใต้คำสั่งของระบบควบคุมคลังสินค้า Warehouse Control System (WCS) และระบบบริหารคลังสินค้า Warehouse Management System (WMS) ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ

การจัดเก็บสินค้าที่มีน้ำหนักมาก มักจะเก็บไว้บนพาเลท (Unit Load) ส่วนสินค้าที่มีน้ำหนักเบา สามารถจัดเก็บในรูปแบบเป็นกล่อง (Mini Load) 

ระบบ AS/RS นั้นมีประโยชน์หลายประการ เช่น สามารถช่วยลดพื้นที่คลังในแนวราบ (Less Footprint) เหมาะกับคลังที่มีพื้นที่ไม่มากนัก, สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่คลังในแนวดิ่งได้เต็มที่ (Vertical Utilization) โดยเพิ่มจำนวนชั้นวางสินค้า (AS/RS Rack) ในแนวดิ่ง เราจึงมักจะเห็นตัวอาคารคลัง ปรากฏเป็นลักษณะทรงสูง ๆ ราว ๆ 30-40 เมตร จึงเก็บปริมาณสินค้าได้มากขึ้นกว่าเดิม, สามารถรู้ตำแหน่งที่เก็บสินค้าและตรวจสอบสถานะข้อมูลสินค้าทั้งหมดได้อย่างถูกต้องแม่นยำสูง (High Accuracy) ทันทีแบบ Real-Time

ธุรกิจที่มีการใช้งานหรือเริ่มหันมาสนใจเลือกใช้ระบบ AS/RS มีหลากหลายมากขึ้น เช่น กลุ่มอาหาร (อาหารแห้ง อาหารแช่แข็ง ขนมคุกกี้เบเกอรี่) กลุ่มเครื่องดื่ม (เบียร์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ) กลุ่มชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ยานยนต์ กลุ่มเครื่องใช้สำนักงาน กลุ่มวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้าน กลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และยารักษาโรค กลุ่มธนาคาร เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมการรองรับความผันผวนทางธุรกิจในยุคเทคโนโลยีโฉมใหม่ (Disruptive Technology) การนำระบบ AS/RS และระบบอัตโนมัติของอุปกรณ์เครื่องจักรในแต่ละขั้นตอนก็เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกประเภทในยุค 4.0 นี้

AS/RS ‘Rack Sorter’ – คลังสินค้าอัตโนมัติแบบพาลเลตและแบบใส่กล่อง

โซลูชันการจัดเก็บที่ถูกพัฒนาขึ้นจากความรู้ด้านการผลิตและระบบการขนส่งของ Toyota คุณสมบัติหลักของ Rack Sorter คือการใช้พื้นที่ในอากาศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้สามารถประหยัดพื้นที่ชั้นล่างได้ประมาณ 2/3 เมื่อเทียบกับชั้นวางของแบบคงที่ (Static Rack) ในปัจจุบัน ด้วยการใช้พื้นที่สูงถึงเพดานได้อย่างมีประสิทธิภาพบวกกับประสิทธิภาพในการจัดเก็บ

ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมบริหารจัดการคลังสินค้า WMS (Warehouse Management System) ที่มีความแม่นยำสูง จึงใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้สูงสุด เหมาะกับคลังสินค้าที่ต้องเพิ่มปริมาณการจัดเก็บมากขึ้น และมีปริมาณสินค้าเข้า-ออกเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการสนับสนุนระบบการจัดเก็บและโลจิสติกส์

ตัวเลือกของ AS/RS เพื่อคลังสินค้ายุคใหม่ของคุณ

ระบบ AS/RS สามารถออกแบบและปรับได้ตามต้องการเพื่อเพิ่มผลผลิต (Productivity Needs) ของการดำเนินการจัดเก็บและซัพพลายเชนของคุณ ไม่ว่าคุณจะต้องการเคลื่อนย้ายพาเลททั้งหมด หรือต้องทำการเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยอัตราความเร็วสูงตามขนาดกล่องสินค้า:

Unit Load AS/RS: ระบบจัดเก็บและเบิกจ่ายแบบนี้ทำงานโดยการเคลื่อนย้ายพาเลท (Unit Loads) มาตรฐานที่เฉพาะเจาะจงสำหรับสถานที่ของคุณ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพื้นที่จัดเก็บที่มีความหนาแน่นและมีปริมาณงานสูง

Mini Load AS/RS: เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการประหยัดพื้นที่สำหรับผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าที่มีขนาดเล็ก รูปแบบกล่องหรือถาดขนาดเล็ก (Mini Load) ระบบนี้สามารถติดตั้งในทางเดินที่แคบเพียง 7 ฟุตได้ และสามารถทำงานที่ความสูงได้หลายชั้น








เครื่องจัรก NC

 เครื่องจัรก NC

 เครื่องจักรNC ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.
ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ NC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว.
ระบบ NC มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
       1.ชุดคำสั่ง (Programmed)
คือคำสั่งในแต่ละขั้นตอนเพื่อกำหนดให้เครื่องจักร NC ทำงานตามที่เราต้องการ โดยที่ชุดคำสั่งนี้จะถูกสร้างขึ้นในลักษณะของตัวเลข ตัวอักษรสัญลักษณฺ์ต่างๆ แล้วเก็บไว้ในเทปกระดาษที่เจาะรู เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะใช้เครื่องอ่านเทปเพื่อแปลรหัสคำสั่งให้ทำงานตามขั้นตอน.
       2.หน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องหรือเอ็มซียู (MCU : Machine Control Unit)
คือส่วนที่ทำหน้าที่อ่านและตีความหมายของคำสั่งเพื่อแยกคำสั่งออกเป็นสัญญาณไปควบคุมเครื่องจักรต่อไป ประกอบไปด้วยเครื่องอ่านเทปช่องส่งสัญญาณควบคุม(Control Output Signal) ระบบการตรวจสอบแล้วส่งผลย้อนกลับ(Feedback Transducer) และแผงควบคุม(Control Panel) สำหรับควบคุมการเปิด/ปิดเครื่องจักร NC
      3.เครื่องจักร NC(NC Machine Tool)
เป็นส่วนที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เราเขียนขึ้น

เครื่อง CNC=Computer Numerical Control 

เป็นเครื่องจักรกลอัติโนมัติที่ทำงานโดยการโปรแกรมเข้าไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะให้มันทำงานตามแบบที่เราโปรแกรมเข้าไป มีหลายภาษาที่ใช้กับเครื่อง โดยมากจะเป็นงานโลหะที่มีความซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง โดยที่การหล่อไม่สามารถทำได้หรือสามารถทำได้ก็ตาม
        เครื่องจักรกลพื้นฐานเช่น เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียรนัย และเครื่องตัดโลหะแผ่นเป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องยนต์ และแม่พิมพ์ ตลอดจนหน่วยงานสร้าง – ซ่อมงานโลหะโดยทั่วไป และอาจกล่าวได้ว่าความก้าวหน้าของเครื่องจักรกลประสิทธิภาพสูงหลายประเภทในยุคปัจจุบันล้วนแต่มีรากฐานมาจากเครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้ทั้งสิ้น รูปที่ 1 แสดงการทำงานของเครื่องกลึงที่ใช้แรงงานคนในการหมุนเกลียวขับเพื่อป้อนมีดกลึงเข้าหาชิ้นงาน ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องกลึงหรือเครื่องจักรกลพื้นฐานอื่นๆ จะต้องมีทักษะและความชำนาญในการหมุนเกลียวขับที่ใช้ในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าหาชิ้นงานเป็นอย่างดี แต่ถึงกระนั้นพบได้บ่อยว่าผู้ปฏิบัติงานต้องใช้เวลามากในการผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการมองเห็นของผู้ปฏิบัติงาน และความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการวัดที่ต้องทำบ่อยครั้ง ในบางครั้งยังพบว่าชิ้นงานที่ได้มีความคลาดเคลื่อนทางขนาดเกินกว่าที่จะยอมรับได้


ระบบ CNC (Computer Numerical Control) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเปลี่ยนแปลงและควบคุมสภาพการทำงานของเครื่องจักรกลพื้นฐานดังกล่าวจากเดิมซึ่งใช้แรงงานคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักร ให้เครื่องจักรเหล่านี้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ระบบ CNC ยังช่วยเพิ่มความสามารถให้เครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้สามารถทำงานลักษณะซับซ้อนได้ด้วยความรวดเร็วและแม่นยำในระดับที่พ้นความสามารถในการรับรู้ของมนุษย์โดยทั่วไปหลายสิบเท่าตัว สำหรับการประยุกต์ใช้ระบบ CNC ในเครื่องจักรพื้นฐานดังกล่าว ระบบ CNC จะประกอบไปด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวนหนึ่งซึ่งถูกนำไปใช้ในการหมุนเกลียวขับแทนมือคน และระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ในการควบคุมมุมและความเร็วที่มอเตอร์ไฟฟ้าเหล่านั้นหมุนเกลียวขับ โดยระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวสามารถควบคุมมุมของมอเตอร์ได้ด้วยความละเอียดถึง 0.1 องศาหรือดีกว่า หรือสามารถให้ความละเอียดในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าสู่ชิ้นงานสูงถึง 0.02 มม หรือดีกว่า
ในปัจจุบัน มีการใช้ระบบ CNC สำหรับเครื่องจักรพื้นฐานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ แม่พิมพ์ และในหน่วยงานสร้าง – ซ่อมอย่างแพร่หลาย หากประมาณคร่าวๆ มูลค่าเบื้องต้นของระบบ CNC ในอุตสาหกรรมเหล่านี้อยู่ในระดับหลายพันล้านบาท ในทางปฏิบัติระบบ CNC ดังกล่าวและผู้เชี่ยวชาญในระบบดังกล่าวถูกนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และ ญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจาก CNC ดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่ยากต่อการออกแบบและการทำความเข้าใจจนสามารถนำมาใช้งานได้จริง อย่างไรก็ตาม ดร.พินิจ งามสม ได้ใช้เวลากว่า 4 ปีในการวิจัย ออกแบบ และพัฒนา จนประสบผลสำเร็จในการสร้างระบบ CNC ที่ใช้งานได้จริง โดยงานวิจัยที่เป็นรากฐานของผลงานนี้ได้รับการพิจารณาให้เป็นบทความดีเด่นสาขา Dynamics, Systems, and Control ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสากลที่มีความแข็งแกร่งทางวิชาการมากที่สุดเล่มหนึ่ง คือ Journal of Dynamic System, Measurement, and Control โดย American Society of Mechanical Engineers ในปี พ.ศ. 2546



       ระบบ CNC ที่สร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมมุม ความเร็ว และแรงบิดในการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าภายใต้ความไม่แน่นอนของภาระงานและคุณสมบัติภายในได้ 4 ตัวพร้อมกัน (ขยายได้เป็น 8 ตัวเพื่อการควบคุมแขนกลลักษณะต่างๆ) โดยใช้มาตรฐานรหัส G และ M ในการสั่งการ ระบบสามารถแสดงความก้าวหน้าของการทำงานได้ทั้งในเชิงต้วเลขและเชิงรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนพารามิเตอร์ของระบบควบคุมให้เข้ากับการใช้งานควบคุมเครื่องจักรได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่องกัด, เครื่องกลึง, แขนกล, เครื่องตัดพลาสม่า, เครื่องลอกพื้นผิว, และเครื่องพับโลหะ เป็นต้น ในการทดสอบ ระบบ CNC ที่สร้างขึ้น ถูกนำไปใช้ในการควบคุมเครื่องกัดที่ทำงานในสามมิติโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงจำนวน 4 ตัว ซึ่งในจำนวนนี้ มอเตอร์ 3 ตัวถูกใช้ไปในการป้อนชิ้นงานและดอกกัดในแนว X, Y, และ Z ส่วนมอเตอร์อีกหนึ่งตัวใช้ในการหมุนดอกกัดชิ้นงาน ระบบ CNC ที่ออกแบบและสร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมให้เครื่องกัดทำงานได้โดยอัตโนมัติตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ด้วยความละเอียด 0.02 มม (ถูกจำกัดด้วยระยะคลอนของเกลียวขับที่ใช้อยู่) หลังจากการพัฒนาระบบ CNC ต้นแบบเสร็จสิ้นลง ในปัจจุบันระบบ CNC ดังกล่าวมีต้นทุนในการสร้างประมาณ ุุ60,000 บาทต่อเครื่อง

เครื่อง DNC Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

        SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม
SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี และยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดีแก่องค์กรอีกด้วย
คุณลักษณะมาตรฐาน Standard Features of SUPER-DNC System
       1. การเรียกโปรแกรม NC Data ที่ต้องการ โดยรับส่งโดยตรงระหว่างเครื่องจักรกลระบบ CNC กับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (SUB Program Calling) โดยการเรียกโดยตรงที่หน้าเครื่องจักรกลระบบ CNC
       2. การให้บริการกระจายข้อมูลโปรแกรม NC Data ในแบบเครื่องข่ายโดยมี Server เป็นศูนย์กลางการติดต่อรับส่งข้อมูลโปรแกรม NC Data กับเครื่องจักรกลระบบ CNC ทุกเครื่องในเครือข่าย โดยมีสถานี Client Station ซึ่งเป็นสถานี Generate (สร้าง) หรือ INPUT หรือ EDIT ข้อมูลโปรแกรม NC Data เพื่อส่งเข้าสู่ Server กลางได้ (Client – Server Configuration System)
       3. การเริ่มกัดงานใหม่ต่อจากการกัดที่หยุดค้างไว้เดิม (Start Cutting from any program line) กรณีที่มีการหยุดกัดงานกลางคัน เช่น Tool สึกหรือ Tool แตก จำเป็นต้องหยุดค้างโปรแกรมไว้เพื่อเปลี่ยน Tool ใหม่ จากนั้น Software SUPER-DNC สามารถส่งต่อข้อมูลโปรแกรม NC Data ในบรรทัดต่อไปได้ โดยไม่ต้องเริ่มงานใหม่ทั้งหมด
       4. สามารถกำหนด Protocols พิเศษต่างๆ (เครื่องจักรเก่าๆ หรือที่ไม่แพร่หลายในตลาด) โปรแกรม SUPER-DNC สามารถติดต่อกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ที่มี Protocol ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง (Special Protocols for CNC Machines)
       5. การทำงานแบบ Auto-Search สำหรับส่ง Sub Programs หลายๆ โปรแกรมเรียงไปตามลำดับไปยังเครื่องจักรเป้าหมาย
       6. OPTION การแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (Notify User for Events such as cutting finish) เช่น เมื่อกัดงานเสร็จแล้ว หรือเกิดการหยุดกัดงานโดยไม่คาดคิด SUPER-DNC สามารถติดต่อด้วย Special GPRS Data modem เพื่อส่งแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile phone) ด้วย E-mail หรือ SMS Message ของผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้ทราบและดำเนินการต่อไปได้










รถ AGV แบบลำเลียง


 รถ AGV แบบลำเลียง


SIASUN AGV (Automated Guided Vehicle) หรือรถ AGV ลำเลียงอัตโนมัติแบบไร้คนขับ แบรนด์ SIASUN เป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ concept design จนกระทั่งติดตั้งใช้งานจริง รวมถึง บริการหลังการขาย กำลังการผลิตมากกว่า 1000 คัน ต่อปี SIASUN เป็นผู้ผลิต รถ AGV ที่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกสูงที่สุดในโลก ประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในการผลิต รถ AGV ผลิตหุ่นยนต์ เพื่อป้อนให้แก่ บริษัทชั้นนำมากมายทั่วโลก ผลิต รถ AGV มากกว่า 200 คัน ให้แก่บริษัทชั้นนำมากมายทั่วโลก Siasun AGV มีผลิตภัณท์ครอบคลุมรูปแบบงานภาคอุตสาหกรรมแทบทุกชนิด อาทิ Mobile Robot , Conveyer Mobile Robot , Forklift Mobile Robot ระบบนำทางชนิดต่างๆ ตามความเหมาะสมของงาน อาทิ ระบบนำทางด้วย สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ระบบนำทางด้วย GPS ระบบนำทางด้วยแถบแม่เหล็ก ระบบนำทางด้วย เลเซอร์ ระบบนำทางด้วย QR CODE ฯลฯ



Monday, March 22, 2021

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

รูปภาพนวัตกรรมหุ่นยนต์ Nachi

1. หุ่นยนต์อเนกประสงค์

หุ่นยนต์อเนกประสงค์ในโรงงานโดยส่วนมากจะถูกพัฒนามาเป็น “แขน” หุ่นยนต์เป็นหลัก ทั้งเพื่อหยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่นแล้ว ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทำงานอื่นๆ เช่น การประกอบชิ้นงานละเอียด งานตรวจสอบต่างๆ โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์อเนกประสงค์จะถูกสร้างมาเพื่อสามารถใช้งานในพื้นที่จำกัดได้ดี น้ำหนักเบา ทนต่อสภาพแวดล้อม เช่นหุ่นยนต์ Nachi MZ07 ที่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย และทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยึ่น ตัวเครื่องป้องกันฝุ่นและหยดน้ำเหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่แคบ ยิ่งไปกว่านั้นยังรองรับการทำงานระบบ Automation ทำให้ง่ายต่อการออกคำสั่งแม้ว่าจะเป็นงานละเอียดขนาดไหนก็ตาม



2.หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าและวัสดุ



หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าเป็นหุ่นยนต์ที่นิยมใช้ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงโกดังต่างๆ โดยเฉพาะ Amazon และ Alibaba ที่มีการพัฒนาหุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าในโรงงานของตนเอง แทนที่จะใช้มนุษย์ในการทำงาน

ซึ่งหุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าเองก็มีการงานหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันตามโรงงานและโกดังต่างๆ โดยมีหน้าที่หลักคือ

  • จัดเรียงสินค้าลงกล่อง
  • จัดทำ Packaging สินค้า
  • จัดเรียงกล่องสินค้าลงบนพาเลท
  • ยกพาเลทไปตามจุดต่างๆของโรงงาน
  • ขนส่งวัสดุต่างๆในโรงงาน

แน่นอนว่าหุ่นยนต์ประเภทนี้หลายรุ่นจะสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในพื้นที่ทำงานของตัวเอง เพื่อส่งต่อวัสดุหรือชิ้นงานให้กับมนุษย์หรือหุ่นยนต์ตัวอื่นๆ นอกเหนือจากการเคลื่อนที่บนพื้นแล้ว ยังมีความคิดที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ในรูปแบบโดรน ขึ้นเพื่อทำการขนส่งสินค้าในโรงงานด้วยการบินอีกด้วย



3.หุ่นยนต์ตรวจสอบความปลอดภัย



ยิ่งอุตสาหกรรมพัฒนามากขึ้น ความปลอดภัยก็ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นตาม งานหลายงานมีความเสี่ยงเกินกว่าจะให้มนุษย์ดำเนินการหรืออยู่ในจุดที่คนทั่วไปยากจะเข้าถึง ด้วยเหตุผลเหล่านั้นทำให้หุ่นยนต์ตรวจสอบความปลอดภัยโรงงานเข้ามามีบทบาท เช่น

  • ตรวจสอบสารพิษที่รั่วไหลในโรงงาน เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถเข้าไปในที่ๆ คนเข้าไม่ถึงโดยไม่ต้องสวมชุดป้องกันได้
  • ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ด้วยอินฟาเรดหรืออุปกรณ์ตรวจจับอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีไฟฟ้ารั่วไหล
  • ตรวจสอบปล่องควันหรือจุดที่อยู่สูง ทำให้ไม่ต้องมีการปิดโรงงานทั้งโรงเพื่อซ่อมบำรุง
  • ตรวจสอบวัสดุในโรงงาน เช่น หุ่นยนต์ตรวจสอบความหนาของถังสารเคมี  

ซึ่งหุ่นยนต์ทั้งหมดก็มีตั้งแต่ทำงานแบบอัตโนมัติ ไปจนถึงทำงานโดยมีคนควบคุมอยู่เบื้องหลัง


 




Monday, March 15, 2021

รายชื่อสมาชิก ไฟฟ้า ห้องเอ

                             สมาชิกในห้องเรียน

       ชื่อ        -          สกุล                                  URL.
1.นายพันล้าน ภักดี     มะยากี
2.นายชนม์ธกานต์ คงสีพันธ์     แพง
3.นายซูฮัยมีส์ กามะ     ไอเวะ
4.นายณัฐพล โต๊ะสมัน      เอส
5.นายนิลี อาแว     มะลี
6.นายบุคอรี ดารานีตาแล      คอรี
7.นายปฐวี หมัดเจริญ     รอน
8.นายพสิษฐ์ ภูมิหึงษ์      เพิ่ม
9.นายไฟศอล ลือแบซา     ต่อง
10.นายภูมินทร์ ชูจันทร์     ภูมิ
11.นายภาณุพันธ์ สว่างงาม     โอห์ม
12.นายมุสลีมีน อาลี      ลีมีน
13.นายวัชรินทร์ เหมปอง     ริน
14.นายศุภโชค จันทรัตน์     นน
15.นายสนธยา สายระย้า      อัสรี
16.นายอับดุลเล๊าะ ยูโซะ      ซู
17.นายอูมัร หมาดทิ้ง     อูมัร
18.นายฮากีมี เจะเลาะ     กีมี
19.นายเฮลมี สะแอ    เฮล
20.นายนิอาลาวี ยะหริง     ลาวี
21.นายรณชิต ชอบแต่ง      ธง
22.นายณัฐดนัย พรมดำ      รอมซี
23.นายนพรัตน์ จิสวัสดิ์    ฟารุก
24.นายศราวุธ เทพวารินทร์     หมัด
25.นายฮานาฟีย์ เจะอุบง                                   นาฟี

ประวัติส่วนตัว

 ประวัติส่วนตัว

ชื่อ อับดุลเล๊าะ   ยูโซะ  ชื่อเล่น ซู

รหัสนักศึกษา 636715017  

สาขา เทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

วันเดือนปีเกิด 12 ตุลาคม 2542

บ้านเลขที่ 57/1 ม.2 ต.ประจัน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี 94160

เบอร์โทร 0980344833

สีที่ชอบ สีฟ้า

งานอดิเรก เล่นกีฬา

คติประจำใจ ท้อได้แต่อย่าถอย

Facebook : Abdulloh Yusoh



ระบบ AS/RS

 ระบบ AS/RS ระบบจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าแบบอัตโนมัติ  หรือ  Automated Storage and Retrieval System (AS/RS)  จึงเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ถูกนำมาใ...